Chaichan Pothisarn
Chaichan Pothisarn
  • Видео 19
  • Просмотров 227 594

Видео

สายไฟฟ้า
Просмотров 5 тыс.3 года назад
คลิปการสอนวิชา Electrical System Designs คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง
การคำนวณโหลดอาคารชุด
Просмотров 4,6 тыс.3 года назад
คลิปการสอนวิชา Electrical System Designs คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง
การออกแบบวงจรย่อย สายป้อน ตัวนำประธาน
Просмотров 6 тыс.3 года назад
คลิปการสอนวิชา Electrical System Designs คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง
การอ่านแบบระบบไฟฟ้า
Просмотров 18 тыс.3 года назад
คลิปการสอนวิชา Electrical System Designs คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง
มาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบติดตั้งระบบไฟฟ้า
Просмотров 9 тыс.3 года назад
คลิปการสอนวิชา Electrical System Designs คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง
วงจรมอเตอร์
Просмотров 11 тыс.4 года назад
คลิปการสอนวิชา Electrical System Designs คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง
การปรับปรุงตัวประกอบกำลัง
Просмотров 12 тыс.4 года назад
คลิปการสอนวิชา Electrical System Designs คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง
การคำนวณแรงดันตก
Просмотров 15 тыс.4 года назад
คลิปการสอนวิชา Electrical System Designs คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง
การคำนวณกระแสลัดวงจร
Просмотров 15 тыс.4 года назад
คลิปการสอนวิชา Electrical System Designs คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง
การต่อลงดิน
Просмотров 13 тыс.4 года назад
คลิปการสอนวิชา Electrical System Designs คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง
Hallstatt_Nov_2018
Просмотров 2655 лет назад
Austria Trip Nov 2018
Taipei 101
Просмотров 2126 лет назад
พาชมที่สูง
Shinminato bridge's air corridor
Просмотров 1356 лет назад
ทางเดินใต้สะพานแขวน Shinminato เมือง Takaoka เลียบชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น ในคลิปบอกความสูงผิด ผิวจราจรสูงจากระดับน้ำ 47 เมตร ยอดเสาขึงสูง 127 เมตร สะพานยาว 600 เมตร
Toyama Castle Park
Просмотров 1086 лет назад
สวนและพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ในบริเวณที่เคยเป็นปราสาท
พาชมที่สูง Crossland Tower Oyabe
Просмотров 1376 лет назад
พาชมที่สูง Crossland Tower Oyabe
JR Kyushu History Museum
Просмотров 2939 лет назад
JR Kyushu History Museum
Lab Grounding KMITL
Просмотров 11 тыс.11 лет назад
Lab Grounding KMITL
พื้นฐานระบบป้องกันฟ้าผ่า
Просмотров 102 тыс.12 лет назад
พื้นฐานระบบป้องกันฟ้าผ่า

Комментарии

  • @user-gq2yr8cy1r
    @user-gq2yr8cy1r 5 дней назад

    ดาวน์โหลดเอกสารมาศึกษาได้มั้ยครับ ผมจบ ปวส. ผ่านไปหลายปี ขอทวนความรู้ไปทำงานครับ

  • @chok-d67
    @chok-d67 17 дней назад

    อาจารย์ครับ ทำไมตามมาตรฐานถึงได้กำหนดค่าความต้านทานดินไม่เกิน 5 โอห์มครับ แล้วทำไมถึงได้เอาค่าความต้านทานดินที่วัดได้จากเครื่องมือ earth tester ซึ่งมันเป็นค่าความต้านทานดินล้วนๆเลย ไม่ใช่ค่าความต้านทานดินในวงรอบของสายนิวทรัล ทำไมถึงได้เอาค่าความต้านทานดินในส่วนนี้มาอ้างอิงที่ไม่เกิน 5 โอห์มครับ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วต้องเอาค่าความต้านทานดินในวงรอบของสายนิวทรัลไม่ใช่หรอครับ เพราะว่าถ้าสายนิวทรัลวันเกิดปัญหาหลวมหรือขาด กระแสโหลดที่ไหลลงหลักดิน ก็จะไหลผ่านพื้นดินไปขึ้นหลักดินที่จุดใดจุดหนึ่งที่เชื่อมต่ออยู่กับสายนิวทรัลที่จุดใดจุดหนึ่ง เพื่อนไหลกลับไปหาแหล่งกำเนิดของมันก็คือหม้อแปลงไฟฟ้า ถ้าค่าความต้านทานดินในวงรอบของสายนิวมรัลมันสูง มันก็จะส่งผลทำให้มีแรงดันตกคร่อมที่หลักดินสูง มันก็จะส่งผลทำให้สายนิวทรัลของวงจรย่อยและสายดินของวงจรย่อยมีศักย์ไฟฟ้าสูงตามไปด้วย สายดินมันก็เป็นอันตรายสิครับ ผมก็งงว่าทำไมเขาไม่อ้างอิงค่าความต้านทานดินในวงรอบของสายนิวทรัลล่ะครับอาจารย์

  • @chok-d67
    @chok-d67 Месяц назад

    อาจารย์ครับ หลักดินของระบบป้องกันฟ้าผ่ากับหลังดินของตู้เมนไฟฟ้า ต้องเชื่อมต่อถึงกันด้วยใช่ไหมครับ ถ้ามีการเชื่อมต่อถึงกันระหว่างหลักดินของระบบป้องกันฟ้าผ่ากับหลักดินของตู้เมนไฟฟ้า ถ้าเกิดฟ้ามันผ่าลงมาที่ตัวนำล่อฟ้าที่อยู่บนหลังคาอาคาร มันจะไม่ส่งผลทำให้สายนิวทรัลในระบบไฟฟ้ามีแรงดันเกินพิกัดหรอครับ เพราะว่าสายต่อหลักดินมันเชื่อมต่ออยู่กับสายนิวทรัล ถ้ามีกระแสจากฟ้าผ่าไหลลงดิน มันจะไม่ส่งผลทำให้สายต่อหลักดินและสายนิวทรัลมีแรงดันสูงผิดปกติหรอครับอาจารย์

    • @ChaichanPothisarn
      @ChaichanPothisarn Месяц назад

      ที่ MDB จะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จด้วยครับ

    • @chok-d67
      @chok-d67 Месяц назад

      @@ChaichanPothisarn ขอบคุณครับ

  • @chok-d67
    @chok-d67 2 месяца назад

    อาจารย์ครับ ขอสอบถามเกี่ยวกับตัวประกอบกำลังทางไฟฟ้าหรือ power factor หน่อยครับ วงจรที่มีค่า power factor ต่ำกว่า จะส่งผลทำให้มีแรงดันตกเยอะกว่าใช่ไหมครับ ยกตัวอย่างเช่น ผมจะเดินสายไฟไปจ่ายกระแสไฟฟ้าให้โหลดประเภทมอเตอร์ สมมุติว่ากินกระแส 25 แอมป์ มอเตอร์ตัวนี้มีค่า power factor อยู่ที่ 0.8 ความยาวของสายไฟ 50 เมตร แต่อีกวงจรหนึ่งเป็นโหลดประเภททำความร้อน สมมุติว่าโหลดตัวนี้กินกระแส 25 แอมป์เท่ากัน แต่มีค่า power factor เท่ากับ 1 สายไฟมีขนาดเท่ากันและมีความยาวเท่ากันที่ 50 เมตร วงจรของมอเตอร์จะมีแรงดันตกเยอะกว่าใช่ไหมครับอาจารย์ เพราะว่ามันมีค่า power factor ที่ต่ำกว่า ผมเข้าใจถูกต้องไหมครับอาจารย์ คือผมไปหาข้อมูลแล้วไปเจอข้อมูลจากแหล่งหนึ่ง เขาคำนวณให้ดู แล้วสิ่งที่เขาคำนวณให้ดู ก็คือ วงจรที่มีค่า power factor เท่ากับ 1 มีแรงดันตกเยอะกว่าวงจรที่มีค่า power factor ที่ 0.85 ผมก็เลยงงครับอาจารย์ ผมก็เลยอยากสอบถามอาจารย์ว่าสิ่งที่ผมอธิบายไปตอนต้น ผมเข้าใจถูกต้องแล้วใช่ไหมครับ ขอบคุณครับอาจารย์

    • @ChaichanPothisarn
      @ChaichanPothisarn 2 месяца назад

      ในสมการ มีค่า R cos§ + XL sin§ สายแต่ละขนาด จะมี R กับ XL ไม่เท่ากัน ประกอบกับ ค่า cos กับ sin ของมุม ก็จะเปลี่ยนไปตามมุม สามารถเอาสมการไปใส่ใน excel แล้วปรับค่า cos หรือ R กับ XL ของสายดูได้ครับ ว่าที่PF เท่าไรมีค่า VD สูงสุด

    • @chok-d67
      @chok-d67 2 месяца назад

      @@ChaichanPothisarn ขอบคุณครับอาจารย์

  • @ArtSkyy-iw7fb
    @ArtSkyy-iw7fb 5 месяцев назад

  • @user-wt8uv5gu3t
    @user-wt8uv5gu3t 6 месяцев назад

    ข้อมูลดีมากเลยครับ

  • @user-ls3uu9by7f
    @user-ls3uu9by7f Год назад

    สวัสดีครับ อาจารย์ รบกวนสอบถามเพิ่มเติมหน่อยครับ ในกรณีหม้อแปลงไฟฟ้าในอาคาร วางตู้หม้อแปลงไฟฟ้าติดกับตู้ MDB โดยการต่อลงดินด้านแรงสูงต่อโครงตู้หม้อแปลงไฟฟ้า ส่วนตู้แรงต่ำยังมีสายต่อฝากโครงตู้ต่อถึงกัน เป็นการต่อลงดินร่วมกันแรงสูงแรงต่ำ วิธีที่ 1 คิดว่าห้ามสายฝากของโครงตู้แรงต่ำกับกราวน์แรงต่ำ เพื่อแยกระบบกราวน์แรงสูงแรงต่ำ และยังมีวิธีอื่นอีกไหมครับ รบกวนขอคำปรึกษาครับ

  • @user-ls3uu9by7f
    @user-ls3uu9by7f Год назад

    รบกวนสอบถาม การปรับปรุงค่า power factor ในทางการออกแบบปกติเรากำหนดที่ 0.80 ปรับปรุงเป็น 0.95 จะได้ค่าปรับปรุงโดยประมาณ 30% ของขนาด kVA หม้อแปลง โดยในการปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังควรจะต้องวัดแล้วมาแก้หรือเปล่าครับ หรือแนวทางในการกำหนดค่าตัวประกอบกำลัง ควรกำหนดยังไงในการแก้ค่าตัวประกอบกำลัง ขอบคุณครับ

    • @ChaichanPothisarn
      @ChaichanPothisarn Год назад

      ตอนออกแบบไม่มีใครคำนวณได้ว่าระบบไฟฟ้าในแบบตอนที่ใช้งานจะมี power factor เท่าไร แต่ power factor เป้าหมายคือ 0.85 lagging ต่ำกว่านี้เสียค่า kvar charge สูงกว่านี้ก็ไม่ได้เงินคืน cap bank ขนาด 30% ของขนาด kVA หม้อแปลง สามารถปรับ power factor 0.7169 lagging เป็น 0.85 lagging ได้ครับ

  • @Wutthichai1172_jo
    @Wutthichai1172_jo Год назад

    ❤❤❤ ไปออกแบบระบบไฟฟ้าไม่ได้...เอางานออกแบบระบบป้องกันฟ้าผ่า เป็นงานหลักเลยละครับ จะได้มีผลงาน

  • @user-ko4sg5ls2w
    @user-ko4sg5ls2w Год назад

    ขอสอบถามหน่อยครับว่า การเดินท่อร้อยสายใต้หลังคาและอยู่บนฝ้าเพดาน จะต้องดูค่าตารางจากกล่มไหนและต้องใช้ค่าอุณหภูมิเท่าไรครับ

  • @pps.sks1985
    @pps.sks1985 Год назад

    อาจารย์ครับรบกวนสอบถามหน่อยครับ วสท.ได้มีการแก้ไขเนื้อหามาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสําหรับประเทศไทย พ.ศ.2564 หรอครับอาจารย์ เนื้อหาในมาตรฐานฉบับนี้มีผิดเยอะเหมือนกันนะครับอาจารย์ ที่ผมเคยส่งข้อความหาอาจารย์ ในคลิปในช่อง RUclips ของอาจารย์ อาจารย์ไม่ได้ตอบคอมเม้น

  • @sarototchai2278
    @sarototchai2278 Год назад

    ขอบคุณมากๆครับ สามารถใช้สอบวิชาออกแบบอ.ศุลีได้เลย

  • @chok-d67
    @chok-d67 Год назад

    อาจารย์ครับขอสอบถามหน่อยครับ ในระบบ 1 เฟส 2 สาย และในระบบ 3 เฟส 3 สาย เวลาพิจารณาเรื่อง earth fault loop impedance มีหลักการพิจารณาแตกต่างกันอย่างไรบ้างครับอาจารย์ ในระบบ 1 เฟส 2 สาย ต้องพิจารณาทั้งสายเฟส สายนิวทรัลรวมสายดินใช่ไหมครับอาจารย์ แล้วถ้าเป็นระบบ 3 เฟส 3 สาย พิจารณาเฉพาะสายเฟสขาเดียว หรือว่าพิจารณาฝั่งขากลับของสายเฟสด้วยครับ ขอสอบถามอีกประเด็นหนึ่งเกี่ยวกับ circuit breaker ครับอาจารย์ circuit breaker ต้องปลดวงจรภายในระยะเวลา 0.1 วินาที จนถึงเวลาเท่าไหร่ครับ ถึงจะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานด้านความปลอดภัย ผมเห็นข้อมูลบางแหล่งอธิบายบอกว่า ระยะเวลาในการปลดวงจรของเซอร์กิตเบรกเกอร์ ต้องอยู่ภายในระยะเวลา 0.1 - 5 วินาที ถ้า 5 วินาทีมันนานเกินไปหรือเปล่าครับอาจารย์ ตกลง 0.1 - 0.5 วินาทีหรือเปล่าครับ ขอบคุณครับอาจารย์

  • @chok-d67
    @chok-d67 Год назад

    อาจารย์ครับขอสอบถามเกี่ยวกับตารางภาคผนวก ญ \ ญ-3 ในหนังสือมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ.2564 หน่อยครับ ในตารางที่ว่านี้ หัวข้อในตาราง พูดถึงเรื่องเซอร์กิตเบรกเกอร์ IEC 60947-2 ในตารางนี้ระบุเป็น Type B กับ Type C ซึ่งเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ผลิตตามมาตรฐานนี้ แบ่งเป็น category A กับ category B ไม่ใช่เหรอครับ ผมก็เลยงงว่าทำไมในหนังสือระบุเป็น Type B กับ Type C

    • @chok-d67
      @chok-d67 Год назад

      ถ้าดูในภาคผนวก จ. \ จ-1 มีการระบุข้อมูลของ circuit breaker ที่ผลิตตามมาตรฐาน IEC 60947-2 หรือ IEC 947-2 ข้อมูลในหน้านี้เป็นข้อมูลถูกต้องครับ ก็คือมีการแบ่งประเภทของ circuit breaker ที่ผลิตตามมาตรฐานนี้ เป็นกลุ่ม A กับ B ข้อมูลที่หน้านี้ถูกต้องครับ แต่พอไปดูในภาคผนวก ญ \ ญ -1 ทำไมข้อมูลตรงส่วนนี้มันผิดครับ ทำไมไประบุเซอร์กิตเบรกเกอร์ มาตรฐาน IEC 60947-2 ว่า Type B กับ Type C ในภาคผนวก ญ \ ญ-3 หน้านี้ก็จะเป็นตารางเกี่ยวกับเซอร์กิตเบรกเกอร์ ที่ผลิตตามมาตรฐาน IEC 60947-2 ในหน้านี้ก็ไปเรียกเซอร์กิตเบรกเกอร์ ที่ผลิตตามมาตรฐานนี้ว่า Type B กับ Type C เช่นกัน ซึ่งมันเป็นข้อมูลผิดนะครับอาจารย์ จริงๆจะต้องเรียกเป็นกลุ่ม A หรือ B ผมก็งงว่าทำไมข้อมูลไม่ตรงกับภาคผนวก จ \ จ-1 ทั้งๆที่ข้อมูลในหน้านี้ เรียกเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ผลิตตามมาตรฐาน IEC 60947-2 ว่า ประเภท A กับ ประเภท B รบกวนอาจารย์หาคำตอบให้ด้วยครับ เพราะอ่านเนื้อหาแล้วงงมาก เพราะถ้าเป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ผลิตตามมาตรฐาน IEC 60947-2 จะไปเรียกว่า Type B กับ Type C เหมือนกับ circuit breaker ตามมาตรฐาน IEC 60898 ไม่ได้นะครับ เพราะว่าเป็นคนละมาตรฐานกัน ผมก็งงว่าผู้เรียบเรียงข้อมูลใส่ข้อมูลมาผิดหรือเปล่าครับ รบกวนอาจารย์หาคำตอบให้ด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับอาจารย์

  • @chok-d67
    @chok-d67 Год назад

    อาจารย์ครับ ในระบบจำหน่ายกระแสไฟฟ้าแรงต่ำที่เป็นระบบ 3 เฟส 4 สาย เหตุผลที่ต้องมีการเอานิวทรัลลงดิน มีเหตุผลอะไรบ้างครับและเพื่ออะไรบ้างครับ รบกวนอาจารย์ช่วยอธิบายหน่อยครับว่ามันมีเหตุผลอะไรบ้างถึงต้องเอานิวทรัลลงดิน ขอบคุณครับ

  • @chok-d67
    @chok-d67 Год назад

    อาจารย์ครับรบกวนสอบถามหน่อยครับ ถ้าในระบบจำหน่ายกระแสไฟฟ้าแรงต่ำของการไฟฟ้า ไม่ได้มีการต่อลงดินที่หม้อแปลงไฟฟ้าเลย สายนิวทรัลตลอดเส้นทางไม่ได้ต่อลงดินเลยแม้แต่จุดเดียว แล้วในส่วนของผู้ใช้กระแสไฟฟ้าหรือตามบ้านเรือนทั่วไป ก็ไม่ได้มีการต่อลงดินเลยแม้แต่หลังเดียว กรณีแบบนี้ถ้าภายในอาคารบ้านเรือนในส่วนของผู้ใช้กระแสไฟฟ้า มีไฟรั่วลงดิน อย่างเช่นมีสายไฟชำรุด แล้วส่วนที่เป็นตัวนำไฟฟ้าแตะหรือสัมผัสอยู่กับโครงสร้างของอาคาร แล้วมีไฟรั่วลงดินได้ กรณีแบบนี้มันจะส่งผลอะไรบ้างไหมครับอาจารย์ ผมเคยได้ยินมาว่าถ้าระบบไฟฟ้าและในส่วนของผู้ใช้กระแสไฟฟ้าไม่ได้มีการต่อลงดิน ถ้าภายในอาคารบ้านเรือนในส่วนของผู้ใช้กระแสไฟฟ้า มีไฟรั่วลงดิน พื้นดินจะเปรียบเสมือนตัวเก็บประจุ แล้วจะส่งผลทำให้แรงดันในระบบสูงผิดปกติ แล้วทำให้ฉนวนของสายไฟชำรุดได้เนื่องมาจากมีแรงดันย้อนเข้าระบบอันเนื่องมาจากการที่พื้นดินเป็นเสมือนตัวเก็บประจุ ผมเคยได้ยินในกลุ่มไฟฟ้าขออธิบายกันแบบนี้ รบกวนอาจารย์อธิบายเรื่องนี้ด้วยครับว่าพื้นดินมันจะเปรียบเสมือนตัวเก็บประจุยังไงถ้าในระบบไฟฟ้าไม่ได้มีการต่อลงดิน ขอบคุณครับอาจารย์

  • @chok-d67
    @chok-d67 Год назад

    อาจารย์ครับรบกวนสอบถามข้อมูลหน่อยครับ 1. แรงดันใช้งานของสายไฟที่ผู้ผลิตระบุมา อย่างเช่น 450/750V มันคือแรงดัน Uo/U ใช่ไหมครับ แรงดัน Uo หมายถึงแรงดันเฟสเทียบดินใช่ไหมครับ แรงดัน U หมายถึงแรงดันเฟสเทียบเฟสใช่ไหมครับ อันนี้ผมเข้าใจถูกต้องใช่ไหมครับอาจารย์ 2. แล้วแรงดันใช้งานของสายไฟที่ผู้ผลิตระบุมามันคือแรงดัน RMS ใช่ไหมครับอาจารย์ ผมเข้าใจถูกต้องไหมครับอาจารย์ 3. แต่สิ่งที่ผมสงสัยก็คือ แรงดัน Vp จะส่งผลกับฉนวนของสายไฟไหมครับอาจารย์ อย่างเช่น แรงดัน RMS ในระบบ 1 เฟส 2 สายอยู่ที่ 230V แรงดัน Vp ก็จะอยู่ที่ประมาณ 325.22 V (230×1.414 = 325.22) สิ่งที่ผมสงสัยก็คือแรงดัน Vp จะส่งผลกับฉนวนของสายไฟไหมครับ อย่างสมมุติสายไฟ VAF ผู้ผลิตระบบแรงดันใช้งานมาที่ 300/500 V แรงดันเฟสเทียบดินก็คือ 300 V ในกรณีแบบนี้เวลาเราจะเลือกสายไฟใช้งานเราต้องคำนึงถึงค่าแรงดัน Vp ด้วยไหมครับอาจารย์ หรือว่าคำนึงเฉพาะแรงดัน RMS เท่านั้น แต่ถ้าคำนึงถึงเฉพาะแรงดัน RMS เท่านั้น แล้วทำไมผู้ผลิตกำหนดแรงดันใช้งานของสายไฟมาสูงกว่าแรงดันระบบที่เราใช้งานกันทั่วไปล่ะครับ ข้อสงสัยของผมก็คือแรงดัน Vp จะส่งผลกับฉนวนของสายไฟหรือเปล่าครับ รบกวนอาจารย์ด้วยนะครับ ขอบคุณครับผม !

    • @ChaichanPothisarn
      @ChaichanPothisarn Год назад

      1. ถูกครับ 2. ถูกครับ 3. ตอนที่ทดสอบสายไฟตามมาตรฐาน ก็พิจารณาเรื่องนี้แล้วครับ ที่มาตรฐานกำหนดให้ผู้ผลิตระบุเป็น Vrms เพื่อให้ผู้ใช้งานเลือกใช้ตามแรงดันของระบบซึ่งระบุเป็น Vrms ครับ

    • @chok-d67
      @chok-d67 Год назад

      @@ChaichanPothisarn ขอบคุณมากครับอาจารย์

  • @baanthai15
    @baanthai15 Год назад

    ขอบคุณคับที่ทำข้อมูลดีๆ

  • @chok-d67
    @chok-d67 Год назад

    อาจารย์ครับขอสอบถามหน่อยครับ ขนาดของสายไฟของวงจรมีผลต่อกระแสลัดวงจรด้วยใช่ไหมครับ ยกตัวอย่างเช่น วงจรย่อย 2 วงจร สมมุติว่า 2 วงจรนี้ใช้ circuit breaker มีพิกัดเท่ากันที่ 20 แอมป์ทริป แต่วงจรที่ 1 ใช้สายไฟขนาด 4 sq.mm. แต่วงจรที่ 2 ใช้สายไฟขนาด 6 sq.mm. ซึ่งสายไฟของวงจรย่อยทั้ง 2 วงจรนี้มีความยาวเท่ากัน สมมุติว่าวงจรย่อยทั้ง 2 วงจรนี้เกิดการลัดวงจรที่ปลายทางในตำแหน่งเดียวกัน วงจรย่อยที่ใช้สายไฟเส้นใหญ่กว่า จะมีกระแสที่จุดลัดวงจรสูงกว่าใช่ไหมครับอาจารย์ สายไฟเส้นใหญ่กว่าส่งผลต่อกระแสลัดวงจรที่สูงกว่าด้วยใช่ไหมครับ

    • @ChaichanPothisarn
      @ChaichanPothisarn Год назад

      อยากให้มองในมุมของค่าอิมพีแดนซ์ของสายไฟฟ้า จะเข้าใจได้ง่ายกว่า วงจรที่มีค่าอิมพีแดนซ์รวม (บวกกันแบบเวคเตอร์) น้อยกว่า จะมีค่ากระแสลัดวงจรสูงกว่า ส่วนคำถามที่ถามมา วงจรที่สาย 6 ตร.มม. มีอิมพีแดนซ์รวมน้อยกว่า จึงมีค่ากระแสลัดวงจรสูงกว่า วงจรที่ใช้สาย 4 ตร.มม.

    • @chok-d67
      @chok-d67 Год назад

      @@ChaichanPothisarn ขอบคุณครับอาจารย์

  • @nexars4227
    @nexars4227 Год назад

    อาจารย์​ค่ะ​ อยากสอบถามเกี่ยวกับอาคารขนาดใหญ่ค่ะ​ เห็นมีกฎหมายอาคารสูงและใหญ่พิเศษ​ กันอาคารขนาดเล็ก​ แต่ไม่แน่ใจเกี่ยวกับอาคารขนาดใหญ่เลยค่ะ

    • @ChaichanPothisarn
      @ChaichanPothisarn Год назад

      กฎหมายที่บังคับอาคารสูงและใหญ่พิเศษ จะแยกดู 2 ด้านคือ พื้นที่ กับ ความสูง สำหรับอาคารขนาดใหญ่ ก่อนอื่นดูว่าอาคารขนาดใหญ่นั้น มีความสูงเท่าไร ถ้าสูงเกิน 23 เมตร ก็ถือว่าเป็นอาคารสูง ถ้าสูงไม่เกิน 23 เมตรก็ให้ดูกฎหมายของอาคารขนาดเล็กครับ

    • @nexars4227
      @nexars4227 Год назад

      @@ChaichanPothisarn ขอบคุณ​มากค่ะอาจารย์​

  • @fa_faiz2002
    @fa_faiz2002 Год назад

    ขอบคุณครับ

  • @pps.sks1985
    @pps.sks1985 2 года назад

    อาจารย์ครับผมรบกวนขอสูตรในการคำนวณหาค่าแรงดันเฟสทูเฟสไหนครับ ยกตัวอย่างเช่น แรงดันเฟส A 104 V แรงดันเฟส B 323 V แรงดันเฟส C 425 V ผมอยากทราบว่าถ้าจะคำนวณหาค่าแรงดันเฟสทูเฟส ต้องใช้สูตรไหนในการคำนวณครับอาจารย์ อย่างเช่น ผมต้องการจะคำนวณหาแรงดันเฟส A ทู เฟส B แรงดันเฟสทูเฟสมันจะมีแรงดันกี่โวลท์ ต้องใช้สูตรไหนในการคำนวณครับอาจารย์ รบกวนอาจารย์ขอสูตรด้วยครับ ขอบคุณมากครับผม

  • @gofour4209
    @gofour4209 2 года назад

    อาจารย์ครับ ผมรบกวนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมครับ ถ้าจะคำนวณแรงดันตกสำหรับสายหลายกลุ่มวงจร ค่ากระแสในสูตรต้องหารด้วยจำนวนกลุ่มวงจรไหมครับ

  • @ggggggg-fo4ki
    @ggggggg-fo4ki 2 года назад

    อาจารย์คับเรียนไปทำงานไปด้วยจะสามารถมำได้เหมือนเดกภาคปกติมั้ยคับ

    • @ChaichanPothisarn
      @ChaichanPothisarn 2 года назад

      อยู่ที่หลักสูตรที่เลือกเรียน และการแบ่งเวลาครับ

    • @ggggggg-fo4ki
      @ggggggg-fo4ki 2 года назад

      @@ChaichanPothisarn เรียนวันอาทิตย์คับ

  • @user-gy6qv7zo3y
    @user-gy6qv7zo3y 2 года назад

    ทิฏฏีปากำป

  • @thailander5572
    @thailander5572 2 года назад

    ขอสอบถามหน่อยครับ กระแสพิกัดที่ระบุใน name plate ของมอเตอร์ 3เฟส เป็นกระแสของ Line (I-line) หรือเป็นกระแส Phase ของขดลวด (I-phase) ครับ เพราะการต่อขดลวดแบบเดลต้าและสตาร์ของมอเตอร์ I-line กับ I-phase จะต่างกัน

    • @ChaichanPothisarn
      @ChaichanPothisarn 2 года назад

      โดยทั่วไปใน name plate จะบอกกระแสพิกัด ทั้งการต่อแบบ Deltaและ แบบ Wye ครับ (เป็น I-Line)

  • @boto4856
    @boto4856 2 года назад

    ขอบคุณมากครับอาจารย์

  • @boto4856
    @boto4856 2 года назад

    ขอบคุณครับอาจารย์

  • @boto4856
    @boto4856 2 года назад

    ขอบคุณความรู้ดีดีที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้จริง ครับอาจารย์

  • @boto4856
    @boto4856 2 года назад

    ขอบพระคุณสำหรับความรู้ดีดีแบบนี้มากๆเลย ครับอาจารย์

  • @winner1338
    @winner1338 2 года назад

    มีโปรแกรมอะไรที่เป็นที่นิยมไหมครับ ตัวอย่างเช่น Ecodial ของ Schneider

  • @Ritdechyai99999
    @Ritdechyai99999 2 года назад

    ขอบคุณมากครับ อาจารย์

  • @danaiwoodsome
    @danaiwoodsome 2 года назад

    สำหรับต่างจังหวัดจะหาวิศวกรทุกสาขายากมาก.ไม่ว่าจะเป็นโยธา,เครื่องกล,ไฟฟ้ากำลัง ฯลฯ.ถ้าเจอก็จะอ้างต่างๆนาๆสารพัด..พอผมจะขอดูใบอนุญาต....ก็เจอนักเลงอ้างสารพัด แต่พอผมโชว์ของจริงก็เงียบ..มีขู่ฆ่าด้วยทุกครั้ง....เจ้าของบ้านที่ผมเข้าไปดูระบบไฟฟ้ากำลังผมไม่เก็บเงินให้คำแนะนำและสุดท้ายเข้าไป...ปรับเปลี่ยนแก้ไขจุดที่ไม่ถูกก็จะรื้อออก..แล้วเดินสายไฟให้ใหม่ออกเงินเองบางเจ้าก็หลายแสนบาท ตอนนี้ที่ต่างจังหวัดชนบท.Homeที่อยู่ห่างจากตัวจังหวัดที่อยู่ค่อนข้างไกล..พอสมควร....จะทำการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์กันมากขึ้น..ทำให้การไฟฟ้าได้ลดการผลิตตอนกลางวันได้มาก

  • @danaiwoodsome
    @danaiwoodsome 2 года назад

    เดี่ยวนี้คืนอาจารย์ลาดกระบังหมดแล้วขอให้อ.ช่วยถ่ายทอดกำลังลมปราณ.วิชาช่างกลับมาด่วนเดี่ยวอายเด็กๆหมดเลย!

    • @ChaichanPothisarn
      @ChaichanPothisarn 2 года назад

      หากจะเดินลมปราณ ก่อนอื่นต้องวิ่งรอบตึกก่อนครับ

  • @ggggggg-fo4ki
    @ggggggg-fo4ki 2 года назад

    อาจารย์คับอยากเรียนไฟฟฟ้าแต่ไม่มีตังเรียนจะเรียนรุ้อย่างไรได้บ้างคับ

  • @pps.sks1985
    @pps.sks1985 2 года назад

    อาจารย์ครับ ผมมีเรื่องมารบกวนสอบถามอาจารย์อีกแล้วครับ คือผมอยากทราบว่าถ้าผมเดินสายไฟในรางวายเวย์ แล้วสายไฟในรางวายเวย์ทั้งหมด...ใช้กับระบบ 1 เฟส 2 สายทั้งหมดเลย ไม่ได้ใช้กับระบบ 3 เฟสเลย ในระบบ 1 เฟส 2 สาย คิดเป็นตัวนำ 2 ตัวนำใช่ไหมครับอาจารย์ สายนิวทรัลถือว่าเป็นตัวนำด้วยใช่ไหมครับ ในรางวายเวย์ มีสายไฟในระบบ 1 เฟส 2 สายอยู่ทั้งหมด 20 ตัวนำครับ ซึ่งยังไม่เกินข้อกำหนดของการเดินสายไฟในรางวายเวย์ 30 ตัวนำ จึงไม่ต้องพิจารณาเรื่องตัวคุณปรับลดค่ากระแสใช่ไหมครับอาจารย์ แต่ผมมีข้อสงสัยอยู่ว่า..ในกรณีนี้ในรางวายเวย์สายไฟทั้งหมดใช้กับระบบ 1 เฟส 2 สายทั้งหมด แล้วเวลาดูพิกัดกระแสของสายไฟในตารางที่ 5 - 20 จะต้องดูพิกัดกระแสของสายไฟในช่องของ 2 ตัวนำหรือ 3 ตัวนำเข้าอาจารย์ มีหลายท่านบอกว่าต้องไปดูพิกัดกระแสของสายไฟในช่องของ 3 ตัวนำ ผมก็เลยงงครับ เพราะสายไฟในรางวายเวย์ทั้งหมดมันใช้กับระบบ 1 เฟส 2 สายทั้งหมด แล้วทำไมไปดูพิกัดกระแสของสายไฟในช่องของ 3 ตัวนำครับ รบกวนอาจารย์ช่วยไขข้อสงสัยของผมหน่อยครับอาจารย์ ขอบคุณอาจารย์มากๆครับผม

    • @pps.sks1985
      @pps.sks1985 2 года назад

      @@user-oe9xw7tn8x แล้วสิ่งที่กูมาถามอาจารย์ส่วนใหญ่จะเป็นประเด็นที่มีคนโต้แย้งกับกู กูต้องการรู้ว่าข้อมูลที่กูมีอยู่นั้นถูกต้องหรือเปล่า กูก็เลยเอาคำถามมาถามอาจารย์ เพื่อให้กูมั่นใจว่าข้อมูลความรู้ที่กูมีอยู่นั้นมันถูกต้อง เพราะกูมั่นใจในอาจารย์ท่านนี้กูก็เลยต้องการคำยืนยันจากอาจารย์ท่านนี้ คนมีสมองเขาต้องทำตัวแบบกู ไม่ใช่อวดรู้ไปซะทุกเรื่องแต่รู้ไม่จริง

    • @pps.sks1985
      @pps.sks1985 2 года назад

      @@user-oe9xw7tn8x มึงนี่นอกจากจะดูถูกคนอื่นแล้วยังดูถูกแบบไม่มีสมองด้วย มึงแหกตาดูซิว่าประเด็นที่กูถามอาจารย์เป็นประเด็นเรื่องอะไร แล้วประเด็นที่กูถามอาจารย์ในประเด็นนี้กูเคยเอาประเด็นนี้ไปอวดเก่งในกลุ่มไฟฟ้าต่างๆหรือเปล่า คนมีสมองเขามองกันในประเด็นนี้นะ แต่ประเด็นอื่นๆที่กูตอบคำถามในกลุ่มไฟฟ้าต่างๆมา 4 ปีกว่า มึงแหกตาดูซิว่ากูรู้จริงหรือเปล่าแล้วเป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือเปล่า ก่อนที่จะดูถูกคนอื่นเขาต้องใช้สมองเยอะๆ ไม่ใช่มีปากแต่ไม่มีสมอง

    • @pps.sks1985
      @pps.sks1985 2 года назад

      @@user-oe9xw7tn8x ในหลายประเด็นที่กูมีความรู้อยู่แล้ว แต่กูไม่มั่นใจว่าความรู้ที่มีอยู่นะมันถูกต้องตามมาตรฐานหรือเปล่า เพราะรายละเอียดในมาตรฐานของ วสท.มีรายละเอียดเยอะมาก ไหนเรื่องไหนที่กูมีความรู้อยู่แล้วแต่กูไม่มั่นใจว่าถูกต้องตามมาตรฐานหรือเปล่า กูก็จะมาถามอาจารย์ท่านนี้ ส่วนใหญ่กูก็จะอธิบายในสิ่งที่กูเข้าใจให้อาจารย์ฟัง เพื่อกูต้องการจะถามอาจารย์ว่าสิ่งที่กูมีความรู้ความเข้าใจอยู่นั้นถูกต้องหรือเปล่า เกิดเป็นคนอย่าใช้ปากก่อนใช้สมอง แล้วก่อนที่จะดูถูกใครใช้สมองเยอะกว่านี้

    • @pps.sks1985
      @pps.sks1985 2 года назад

      @@user-oe9xw7tn8x คนไม่มีสมองก็มักจะดูถูกคนอื่นแบบไม่ใช้สมอง

    • @pps.sks1985
      @pps.sks1985 2 года назад

      @@user-oe9xw7tn8x มึงลองไปไล่ดูในกลุ่มไฟฟ้าต่างๆดูซ ประเด็นที่กูถามอาจารย์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องนี้ กูก็เคยตอบคำถามเพื่อนสมาชิกในกลุ่มไฟฟ้าต่างๆ มาหลายครั้งแล้ว ตอบมาตั้งแต่สมัย 3-4 ปีที่แล้ว แล้วมึงไปดูซิว่าคำตอบที่กูอธิบายให้เพื่อนสมาชิกฟังตรงกับคำอธิบายอาจารย์ท่านนี้อธิบายหรือเปล่า คำตอบที่กูเคยอธิบายให้เพื่อนสมาชิกฟังเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ตรงกับสิ่งที่อาจารย์บอกนะ นั่นก็หมายความว่ากูมีความรู้ในเรื่องนี้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่ามีคนมาโต้แย้งกับกูว่ากูมั่ว กูก็เลยเอาประเด็นนี้มาถามอาจารย์เพื่อความมั่นใจว่ากูไม่ได้มั่ว เพื่อที่กูจะได้เอาข้อมูลไปยืนยันกับไอ้คนที่หาว่ากูมั่ว เพื่อให้มันรู้ว่าแม้แต่อาจารย์ที่สอนในภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าก็ยังให้ข้อมูลแบบเดียวกัน ก็แสดงว่าข้อมูลกูไม่มั่ว เพราะถ้าได้รับคำยืนยันจากอาจารย์ที่สอนในภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าโดยตรง มันก็เป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้อยู่แล้ว กูต้องการเอาข้อมูลไปยืนยันกับไอ้คนที่หาว่ากูมั่ว ก่อนจะดูถูกคนอื่นเขาใช้สมองเยอะๆ

  • @knowledgech9943
    @knowledgech9943 2 года назад

    ได้ความรู้มากครับ ขอบคุณครับ

  • @pps.sks1985
    @pps.sks1985 2 года назад

    อาจารย์ครับ ผมมีเรื่องรบกวนจะสอบถามอาจารย์อีกแล้วครับ คำถามมีอยู่ว่า ถ้ามีการตอกหลักดิน ผมใช้หลักดินตามมาตรฐานเลย ก็คือมีความยาว 2.40 เมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5/8 นิ้ว ผมตอกหลักดินแล้ว แต่ผมไม่มีเครื่องมือวัดค่าความต้านทานของหลักดินที่เรียกว่า earth tester ผมจะใช้วิธีไหนวัดค่าความต้านทานของหลักดินได้บ้างครับ ผมวัดแรงดันเทียบกันระหว่าง L กับ N แล้ววัดแรงดันเทียบกันระหว่าง L กับ G แล้วเอา G มาแทน N แล้วต่อโหลด แล้วคำนวณจากแรงดันตกระหว่าง L กับ G ที่ต่อโหลดอยู่ได้ไหมครับ สมมุติว่าผมวัดแรงดันระหว่าง L กับ N ได้ 229 V ตอนยังไม่ได้ต่อโหลด แล้ววัดแรงดันระหว่าง L กับ G ได้แรงดันเท่ากันก็คือ 229 V แล้วผมก็เอาโหลดมาต่อระหว่าง L กับ G แล้วแรงดันระหว่าง L กับ G แรงดันมันดรอปลงเหลือ 223 V สามารถใช้สูตรไหนคำนวณหาค่าความต้านทานของหลักดินได้บ้างครับ อาจารย์มีสูตรคำนวณในกรณีนี้ไหมครับ คือเครื่องมือในการวัดค่าความต้านทานของหลักดินค่อนข้างจะราคาสูง ถ้าไม่ได้เดินระบบไฟฟ้าเป็นอาชีพ ถ้าลงทุนซื้อเครื่องนี้มาถ้าซื้อเครื่องวัดค่าความต้านทานของหลักดินมาก็คงจะต้องใช้เงินพอสมควร อาจารย์มีสูตรคำนวณไหมครับ ผมรบกวนอาจารย์ขอสูตรคำนวณด้วยครับ ขอบคุณครับอาจารย์

    • @ChaichanPothisarn
      @ChaichanPothisarn 2 года назад

      ค่าความต้านทานของการต่อลงดิน พอจะคำนวณได้ หากทราบค่า “สภาพต้านทานไฟฟ้าของดิน” (ซึ่งก็ต้องวัด) ให้ดูคลิป การทดลองวัดค่าความต้านทานของการต่อลงดิน สรุปคือ ต้องใช้เครื่องวัดครับ แต่ค่าความต้านทานของการต่อลงดิน ก็จะมีค่าเปลี่ยนแปลงไปตาม ค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าของดิน ซึ่งเปลี่ยนแปลงตาม ความชื้น อุณหภูมิ สภาพความเป็นกรด-ต่าง ของดิน แต่ถ้าบริเวณที่ตอกหลักดินเป็นดินเหนียว ดินร่วน (ไม่ใช่ดินลูกรัง ดินทราย) ความต้านทานของการต่อลงดินก็น่าจะอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ครับ

    • @pps.sks1985
      @pps.sks1985 2 года назад

      @@ChaichanPothisarn แต่ไม่สามารถเอาแรงดันอย่างที่ผมว่า มาคำนวณได้ใช่ไหมคะอาจารย์

    • @ChaichanPothisarn
      @ChaichanPothisarn 2 года назад

      @@pps.sks1985 ใช่ครับ

    • @pps.sks1985
      @pps.sks1985 2 года назад

      @@ChaichanPothisarn คือผมมีข้อสงสัยอีกอย่างนึงครับอาจารย์ ข้อสงสัยของผมก็คือ เวลาวัดค่าความต้านทานของหลักดิน ก็จะมีการปักหมุด เพื่อใช้วัดกระแสป้อนกลับมาหาเครื่องวัด แล้วตัวเครื่องก็จะประมวลผลออกมาเป็นค่าความต้านทานของหลักดิน ผมมีข้อสงสัยอยู่ว่า หมุดที่ใช้ปักในการทดสอบ มันมีความยาวแค่ไม่ถึงศอก น่าจะประมาณคืบกว่าด้วยซ้ำไป เมื่อปักลงไปในดินแล้วมันก็ปักลงแค่ผิวดินเท่านั้น แล้วผิวดินด้านบนก็เป็นดินแห้ง แล้วแบบนี้ค่าความต้านทานที่วัดได้มันจะตรงกับความเป็นจริงหรอครับ ก็ในเมื่อหมุดที่ใช้ในการทดสอบวัดค่าความต้านทานมันยาวแค่นิดเดียว ผมเห็นคลิปในการวัดค่าความต้านทานของหลักดินจากหลายสถาบันที่มีการอัพโหลดผ่าน youtube ผมเข้าไปดูหลายคลิป หมุดที่ใช้ในการทดสอบวัดค่าความต้านทานของหลักดินก็ยาวพอๆกัน ก็คือความยาวแค่ประมาณคืบกว่าๆ ผมก็เลยสงสัยว่าแล้วแบบนี้มันจะวัดค่าความต้านทานได้แม่นยำหรอครับอาจารย์ ขอบคุณมากครับอาจารย์

    • @ChaichanPothisarn
      @ChaichanPothisarn 2 года назад

      @@pps.sks1985 แนะนำให้ไปดูคลิป การทดลองการวัดค่าความต้านทานของการต่อลงดินครับ

  • @pps.sks1985
    @pps.sks1985 2 года назад

    อาจารย์ครับพอดีผมมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการต่อที่แผงเมนสวิตช์ของบ้านพักอาศัย ในกรณีที่มีการเอาสายนิวทรัลไปต่อร่วมกับบาร์กราวด์ก่อนเข้าเมนเบรกเกอร์ ตามมาตรฐานปัจจุบัน ผมมีข้อสงสัยว่า ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าต่อสายกราวด์อยู่ ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวนั้นมีกระแสรั่วไหล แล้วกระแสไฟฟ้าที่รั่วไหล...ไหลผ่านสายกราวด์กลับไปหาบาร์กราวด์ เมื่อกระแสที่รั่วไหลไปถึงบาร์กราวด์ ก็จะไปเจอกับสายเมนของนิวทรัล เพราะว่าสายนิวทรัลมันต่อร่วมกับบาร์กราวด์อยู่ ในกรณีเช่นนี้กระแสที่รั่วไหลมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้า มันจะไหลกลับไปหาแหล่งกำเนิดของมันผ่านสายนิวตรอน หรือว่าไหลกลับไปหาแหล่งกำเนิดของมันผ่านหลักดินครับ ขอถามอีกคำถามนึงครับ แล้วกรณีที่มีการเอาสายเมนของนิวทรัลต่อร่วมกับบาร์กราวด์ตามมาตรฐานปัจจุบันนี้ ถ้าเกิดการลัดวงจรภายในวงจรย่อย ถ้าเป็นการลัดวงจรระหว่างสาย L กับสาย N ของวงจรย่อย กระแสลัดวงจรมันจะไหลกลับไปหาแหล่งกำเนิดของมันผ่านสาย N หรือว่าไหลกลับไปหาแหล่งกำเนิดของมันผ่านหลักดินครับ แล้วถ้ากรณีที่สาย L ของวงจรย่อยที่ต่ออยู่กับโหลด เกิดการชำรุด แล้วเกิดการลัดวงจรกับสายกราวด์ของโหลดตัวนั้น แล้วกรณีเช่นนี้ กระแสลัดวงจรมันจะไหลกลับไปหาแหล่งกำเนิดของมันผ่านสาย N หรือว่าไหลกลับไปหาแหล่งกำเนิดของมันผ่านหลักดินครับอาจารย์ เพราะว่าสายกราวด์ของโหลดมันต่ออยู่กับบาร์กราวด์ แล้วบาร์กราวด์มันก็เชื่อมต่ออยู่กับสายนิวทรัลด้วย ถ้าเกิดการลัดวงจรใน 2 ลักษณะนี้ ผมมีข้อสงสัยว่าตกลงกระแสลัดวงจรมันจะไหลกลับไปหาแหล่งกำเนิดของมันผ่านช่องทางไหนครับอาจารย์ ขอบคุณครับอาจารย์

    • @ChaichanPothisarn
      @ChaichanPothisarn 2 года назад

      ข้อแรก และข้อสอง กระแสรั่ว และกระแสลัดวงจร จะไหลผ่านสายนิวทรัลกลับไปยังแหล่งจ่าย เนื่องจากเส้นทางนี้มีอิมพีแดนต่ำกว่า ไหลผ่านทางดินครับ

    • @pps.sks1985
      @pps.sks1985 2 года назад

      @@ChaichanPothisarn ขอบคุณครับอาจารย์ ผมก็เข้าใจมาตลอดว่ามันจะต้องไหลกลับไปหาแหล่งจ่ายของมันผ่านสายนิวตรอน เพราะผมก็เข้าใจมาตลอดว่าอิมพีแดนซ์ของสายนิวตรอนมันต่ำกว่าหลักดินและพื้นดิน แต่ทำไมวิศวกรหลายท่านและอาจารย์หลายท่าน อธิบายว่าค่าความต้านทานของหลักดินต้องไม่เกิน 5 โอห์ม เพื่อให้อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินมันทำหน้าที่ตัดวงจรได้ มีหลายท่านยกตัวอย่างว่า ถ้าสมมุติว่ามีกระแสรั่วไหลจากโหลดและกระแสรั่วไหลลงสายกราวด์ที่ต่ออยู่กับโหลดในลักษณะที่สาย L แล้วส่วนที่ชำรุดแตะอยู่กับโครงโลหะของโหลด แล้วโครงโลหะของโหลดก็ต่ออยู่กับสายกราวด์อยู่ด้วย ในลักษณะที่เป็นการลัดวงจรระหว่างสาย L กับสาย G ถ้าหลักดินมีค่าความต้านทานต่ำกระแสที่ไหลผ่านสายกราวด์ก็จะเกินค่าพิกัดของเครื่องป้องกันกระแสเกิน จะทำให้เครื่องป้องกันกระแสเกินทำงานได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ มีอาจารย์บางท่านคำนวณกระแสที่ไหลผ่านสาย G ให้ดูด้วยนะครับ โดยเอาค่าความต้านทานของหลักดินที่ 5 โอห์ม ไปหารแรงดันไฟฟ้าที่ 230V แล้วอธิบายว่ากระแสที่ไหลผ่านสาย G ก็จะอยู่ที่ประมาณ 40-50 A ถ้าเป็น MCB ขนาดเล็กที่ใช้ในบ้านพักอาศัยทั่วไปมันปลดวงจรอยู่แล้ว แต่ถ้าค่าความต้านทานของหลักดินมันสูงเกิน 5 โอห์ม จะทำให้เครื่องป้องกันกระแสเกินหรือ MCB ปลดวงจรช้าหรือไม่ปลดวงจรเลย มีอาจารย์บางท่านอธิบายแบบนี้ ผมก็เลยงงครับอาจารย์ว่ามันไปเกี่ยวอะไรกับค่าความต้านทานของหลักดิน ถ้ามันเกิดการลัดวงจรในลักษณะที่สาย L ลัดวงจรกับสาย G ไม่ว่าจะลัดวงจรกับสาย G ที่ต่ออยู่กับโหลด และไม่ว่าจะเป็นการลัดวงจรระหว่างสาย L กับสาย G ที่จุดไหนภายในอาคารบ้านเรือนก็ตาม ถ้าสายต่อหลักดินมันต่ออยู่กับสาย N และสายกราวด์หรือสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าหรือของวงจรย่อยต่างๆ มันจั้มออกมาจากบาร์กราวด์ ก็เท่ากับว่าสายกราวด์ของวงจรย่อยต่างๆและสายกราวด์ของบริภัณฑ์ไฟฟ้าในจุดต่างๆ มันก็เชื่อมต่ออยู่กับสาย N ดังนั้นถ้าเกิดการลัดวงจรกันระหว่างสาย L กับสาย G ที่จุดไหนก็ตาม มันก็เหมือนเป็นการลัดวงจรระหว่างสาย L กับ N เพราะสาย G มันต่อร่วมกับสาย N ผมเข้าใจแบบนี้ถูกต้องไหมครับอาจารย์

    • @pps.sks1985
      @pps.sks1985 2 года назад

      @@ChaichanPothisarn เมื่อสาย G ขอวงจรย่อยต่างๆหรือสาย G ของบริภัณฑ์ไฟฟ้าในจุดต่างๆ มันจั้มออกมาจากบัสบาร์ G แล้วบัสบาร์ G ก็ต่อร่วมกับสาย N อยู่ด้วย เวลาพิจารณาค่าความต้านทานหรือพิจารณาค่าอิมพีแดนซ์ของสายกราวด์ มันก็ต้องพิจารณาบัสบาร์ G ไปจนถึงจุดที่เกิดการลัดวงจรระหว่างสาย G กับสาย L ไม่ใช่หรอครับอาจารย์ว่าระยะหรือความยาวของสาย G จากบัสบาร์ G ไปจนถึงจุดที่มันลัดวงจรกับสาย L ว่ามันมีค่าอิมพีแดนซ์มากน้อยขนาดไหน ผมเข้าใจถูกต้องใช่ไหมครับอาจารย์ว่าให้พิจารณาค่าอิมพีแดนซ์หรือค่าความต้านทานของสาย G จากช่วงความยาวและขนาดของสายดังกล่าวนี้ แต่ทำไมอาจารย์บางท่านให้ไปพิจารณาเรื่องค่าความต้านทานของหลักดิน ซึ่งสาย G และหลักดิน มันไม่ได้แยกอิสระจากสาย N นะครับ ทำไมอาจารย์บางท่านบอกให้พิจารณาค่าความต้านทานของหลักดิน ผมก็เลยสับสนในประเด็นนี้ครับอาจารย์ จริงๆแล้วมันต้องพิจารณาค่าความต้านทานหรือค่าอิมพีแดนซ์ของสาย G ของวงจรนั้นๆไม่ใช่หรอครับ ผมขอรบกวนเวลาอาจารย์สอบถามในประเด็นที่ผมสงสัยนี้ด้วยนะครับ ดูแลสุขภาพด้วยนะครับอาจารย์ ขอบคุณครับอาจารย์

    • @ChaichanPothisarn
      @ChaichanPothisarn 2 года назад

      คำตอบข้อนี้คือ ถ้าพิจารณาจากตู้เมนของบ้านไปยังโหลด แบบที่ 1มีการต่อสาย N เข้ากับบัสสายดิน และเดินสายดินไปกับสาย L และ N (ระบบ TN-C-D) เมื่อเกิดลัดวงจรลงดิน กระแสลัดวงจรจะมีค่าเท่ากับแรงดันสาย Lเทียบกับดิน (230V) หารด้วย อิมพีแดนซ์ของสายดิน (ซึ่งต่ำมาก สมมติว่าเท่ากับ 0.5 โอหม์) กระแสลัดวงจรลงดินเท่ากับ 460A แบบที่ 2 มีการต่อสาย N เข้ากับบัสสายดิน แต่ไม่เดินสายดินไปกับ สาย L และ N แต่ไปต่อลงดินที่โหลด (ระบบ TT) เมื่อเกิดลัดวงจรลงดิน กระแสลัดวงจรจะมีค่าประมาณเท่ากับแรงดันสาย Lเทียบกับดิน (230V) หารด้วยค่าความต้านทานของการต่อลงดิน (สมมติว่า 5โอห์ม) กระแสลัดวงจรลงดินเท่ากับ 46A แบบที่ 1เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Type C ทริปทันทีเมื่อกระแสเกินพิกัด 5-10 เท่า) จะปลดวงจรทันที แบบที่ 2 เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Type C ทริปทันทีเมื่อกระแสเกินพิกัด 5-10 เท่า) จะไม่ปลดวงจรทันที

    • @ChaichanPothisarn
      @ChaichanPothisarn 2 года назад

      ถ้าเป็นการเดินสายดินจากตู้เมน ไปพร้อมกับสาย L และ N (ระบบ TN-C-S) กระแสลัดวงจรลงดินที่ผ่านเซอร์กิตเบรกเกอร์ของวงจรที่ลัดวงจร จะขึ้นอยู่กับ อิมพีแดนซ์ของสาย L บวกกับ อิมพีแดนซ์ของสายดิน แต่ถ้าไปต่อลงดินที่โหลด (ปักหลักดินที่โหลด ซึ่งเป็นระบบ TT ที่ประเทศไทยไม่ได้ใช้ และเป็นอันตรายมาก) กระแสลัดวงจรลงดินที่ผ่านเซอร์กิตเบรกเกอร์ของวงจรที่ลัดวงจร จะขึ้นอยู่กับ อิมพีแดนซ์ของสาย L บวกกับ อิมพีแดนซ์ของการต่อลงดิน

  • @saksuk5874
    @saksuk5874 2 года назад

    อ.ครับคำนวณ ไฟDc หน่อยครับ จาก central batterry มาหาหลอด remote Lamp

  • @pps.sks1985
    @pps.sks1985 2 года назад

    อาจารย์ครับรบกวนสอบถามเกี่ยวกับการเลือกขนาดของสายไฟหน่อยครับ จะติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นขนาด 6000 วัตต์ ใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ขนาด 32 แอมป์ ตามมาตรฐานของ วสท.ได้กำหนดไว้ไหมครับว่าสายไฟจะต้องสูงกว่ากระแสโหลด หรือว่าสายไฟจะต้องสูงกว่าพิกัดของเบรกเกอร์ ตกลงเอาอะไรมาเป็นเกณฑ์ครับ หรือว่าพิกัดกระแสของสายไฟต้องสูงกว่ากระแสโหลดด้วยแล้วก็ต้องสูงกว่าพิกัดของเบรกเกอร์ด้วย อาจารย์มีตัวเลขในการคำนวณไหมครับว่าพิกัดกระแสของสายไฟต้องสูงกว่ากระแสโหลดกี่เปอร์เซ็นต์ แล้วพิกัดกระแสของสายไฟต้องสูงกว่าพิกัดของเบรกเกอร์กี่เปอร์เซ็นต์ ผมรบกวนอาจารย์ขอตัวเลขในการคำนวณหาขนาดของสายไฟและหาขนาดของเบรกเกอร์หน่อยครับ ขอบคุณครับผม

    • @ChaichanPothisarn
      @ChaichanPothisarn 2 года назад

      หลักการมีอยู่ว่า 1. ขนาดของเครื่องป้องกันกระแสเกิน (ในกรณีนี้คือเซอร์กิตเบรกเกอร์) ต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า กระแสโหลดสูงสุด ซึ่งปกติก็เลือกเป็นพิกัดตามมาตรฐานที่สูงกว่ากระแสโหลดที่คำนวณได้ เช่น คำนวณได้ 28 ก็เลือก 30 หรือ 32 2. ขนาดกระแสของสายไฟฟ้า(ตามรูปแบบการติดตั้ง เช่น เดินลอย หรือร้อยท่อ) จะต้องไม่น้อยกว่าขนาดเครื่องป้องกันกันกระแสเกิน ถ้าพิจารณาจากข้อ 1 ก็ต้องเลือกไม่น้อยกว่า 30 หรือ 32

    • @pps.sks1985
      @pps.sks1985 2 года назад

      @@ChaichanPothisarn แต่ในมาตรฐานของ วสท. ไม่ได้กำหนดไว้ใช่ไหมครับอาจารย์ว่าเบรกเกอร์จะต้องมีพิกัดสูงกว่ากระแสโหลดสูงสุดที่กี่เปอร์เซ็นต์ ก็คือขอแค่พิกัดของเบรกเกอร์...สูงกว่ากระแสโหลดสูงสุด ก็เป็นอันใช้ได้ใช่ไหมครับอาจารย์ ในมาตรฐานไม่ได้บอกไว้ใช่ไหมคำว่าเบรกเกอร์จะต้องมีพิกัดสูงกว่ากระแสโหลดกี่เปอร์เซ็นต์ แล้วก็ไม่ต้องเผื่อพิกัดของเบรกเกอร์ด้วยการเอากระแสโหลดไปคูณกับ 1.25 ใช่ไหมครับอาจารย์ แล้วในมาตรฐานก็ไม่ได้ระบุไว้ใช่ไหมครับอาจารย์ว่าสายไฟจะต้องมีพิกัดกระแสสูงกว่าพิกัดของเบรกเกอร์กี่เปอร์เซ็นต์ คือข้อมูลจากหลายแหล่งยังสับสนอยู่ครับอาจารย์ ผมหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆหรือแม้แต่ RUclips วิศวกรบางท่านบอกว่า พิกัดของเบรกเกอร์ต้องสูงกว่ากระแสโหลด 125% ก็คือให้เอากระแสโหลดไปคูณกับ 1.25 แล้วก็บอกว่าพิกัดกระแสของสายไฟต้องสูงกว่าพิกัดของเบรกเกอร์ที่ 125% ถ้าใช้สูตรนี้คงต้องใช้สายไฟเส้นใหญ่เกินความจำเป็นหรือเปล่าครับอาจารย์ แต่วิศวกรบางท่านก็บอกว่า ขนาดของเบรกเกอร์ต้องสูงกว่ากระแสโหลด แล้วสายไฟก็จะต้องมีพิกัดกระแสสูงกว่าเบรกเกอร์ แต่ไม่ได้บอกรายละเอียดว่าเบรกเกอร์จะต้องสูงกว่ากระแสโหลดกี่เปอร์เซ็นต์ แล้วก็ไม่ได้บอกว่าสายไฟจะต้องมีพิกัดสูงกว่าเบรกเกอร์กี่เปอร์เซ็นต์ ผมก็เลยสับสนข้อมูลตรงส่วนนี้ ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์ด้วยนะครับที่สละเวลาเข้ามาตอบคำถามให้ผม คือผมสงสัยข้อมูลตรงส่วนนี้มาก เพราะข้อมูลไม่ตรงกันเลย ขอบคุณอาจารย์มากๆครับผม

    • @ChaichanPothisarn
      @ChaichanPothisarn 2 года назад

      @@pps.sks1985 ในมาตรฐาน วสท. ฉบับปี 2551 ยังมีการใช้คำว่า โหลดต่อเนื่องและโหลดไม่ต่อเนื่อง โดยโหลดต่อเนื่องจะต้องมีการเผื่อขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์ 125% แต่ในมาตรฐานฉบับ 2556 ได้ตัดส่วนนี้ออกไป หมายความว่า การเลือกพิกัดเครื่องป้องกันกระแสเกิน ให้มีพิกัดไม่น้อยกว่าโหลดสูงสุดที่คำนวณได้ก็เพียงพอครับ

    • @pps.sks1985
      @pps.sks1985 2 года назад

      @@ChaichanPothisarn ขอขอบพระคุณอาจารย์มากๆครับผม ได้คำตอบชัดเจนแล้วครับ ขอรบกวนเวลาอาจารย์เท่านี้ก่อนครับผม ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองอาจารย์ให้มีสุขภาพแข็งแรงและปลอดภัย ขอขอบพระคุณอาจารย์อีกครั้งครับผม

    • @ChaichanPothisarn
      @ChaichanPothisarn 2 года назад

      @@pps.sks1985 ขอบคุณครับ ยินดีครับ

  • @pps.sks1985
    @pps.sks1985 2 года назад

    อาจารย์ครับรบกวนสอบถามหน่อยครับ มี 2 คำถามครับ คำถามที่ 1 ทาวน์เฮ้าส์เป็นแบบบ้านแฝดติดกัน ใช้มิเตอร์ไฟฟ้าคนละลูก ทั้ง 2 บ้านมีการตอกหลักดิน แต่ว่าหลักดินมันอยู่ใกล้กันมาก ห่างกันแค่ประมาณไม่เกิน 2 เมตร แบบนี้จะส่งผลเสียอะไรกับระบบไฟฟ้าภายในบ้านเราหรือบ้านเขาไหมครับ แล้วมีมาตรฐานกำหนดไว้ไหมครับอาจารย์ว่าบ้านเรือนแต่ละหลังจะต้องตอกหลักดินห่างกันไม่น้อยกว่ากี่เมตร คำถามที่ 2 มิเตอร์ลูกเดียวกันแต่ใช้ไฟ 2 บ้าน สายเมนประธานจากมิเตอร์ไฟฟ้าวิ่งเข้าบ้านหลังแรก ส่วนสายเมนของบ้านหลังที่ 2 จั้มจากสายเมนประธานโดยตรงได้ไหมครับ แล้วการใช้ไฟฟ้า 2 บ้านในลักษณะแบบนี้ บ้านเรือนทั้งสองหลังสามารถตอกหลักดินของตัวเองของบ้านแต่ละหลังสามารถทำได้ไหมครับ ขอบคุณครับอาจารย์

    • @ChaichanPothisarn
      @ChaichanPothisarn 2 года назад

      คำตอบที่ 1 หลักดินของแต่ละบ้าน เป็นจุดอ้างอิงแรงดันของสายนิวทรัล (ของแต่ละบ้าน)ให้เท่ากับดิน สายนิวทรัลของแต่ละบ้านมาจะจุดเดียวกันคือนิวทรัลของหม้อแปลง แต่จุดที่ต่อเข้าบ้านจะมีแรงดัน (เมื่อเทียบกับจุดนิงทรัลหม้อแปลง) ไม่เท่ากันเนื่องจากแรงดันตกในสายนิวทรัล (กระแสที่ไหลในสาย คูณ ความต้านทานสาย) ตู้เมนของแต่ละบ้าน ถือเป็นบริภัณฑ์ประธานของแต่ละบ้าน จึงต้องต่อสายนิวทรัลลงดิน ซึ่งจะแตกต่างจากห้องชุดคอนโด ซึ่งตู้เมนของห้องชุด ไม่นับเป็นบริภํณฑ์ประธาน (บริภัณฑ์ประธานคือตู้ MDB) คำตอบที่ 2 ดูนาทีที่ 23.37

    • @pps.sks1985
      @pps.sks1985 2 года назад

      @@ChaichanPothisarn ขอบคุณครับ

  • @saharatjaksiri109
    @saharatjaksiri109 2 года назад

    ขอบสอบถามหน่อยครับ อยากรู้ที่มาของ sin 53 ครับ ขอบคุณครับ

  • @nc.bubble5497
    @nc.bubble5497 2 года назад

    อ.ครับ หากจะคำนวณหา ค่ากระแสลัดวงจรของ VCB ของ RMU คิดยังไงครับ

    • @ChaichanPothisarn
      @ChaichanPothisarn 2 года назад

      ใช้กำลังลัดวงจรด้านแรงสูง (เช่น 500 MVA, 350MVA) ส่วนแรงดันก็ใช้แรงดันด้านแรงสูง (เช่น 24 kV, 22kV) ครับ

  • @somdetchankhaew3131
    @somdetchankhaew3131 2 года назад

    ขอบคุณครับอาจารย์

  • @pps.sks1985
    @pps.sks1985 3 года назад

    อาจารย์ครับผมมีเรื่องรบกวนสอบถามข้อมูลหน่อยครับ ในกรณีที่สายเมนประธาน จากมิเตอร์ไฟฟ้าเข้าไปจนถึงตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตภายในบ้าน มันมีระยะทางประมาณ 800 เมตร เวลาต่อโหลดแล้วแรงดันมันตกประมาณ 32 V แต่ไม่มีงบประมาณที่จะเปลี่ยนเป็นสายเมนเส้นใหญ่กว่านี้ การเอาสายนิวตรอนที่วิ่งเข้าไปภายในบ้านเราลงดินหลายๆจุด จะแก้ปัญหาเรื่องแรงดันตกได้ไหมครับ อย่างเช่นสายนิวตรอนที่วิ่งเข้าไปที่บ้านเรา มีการเอาลงดินสัก 4 จุด แล้วที่แผงเมนสวิตช์ภายในบ้านก็มีการเอาลงดินอีก 1 จุด การเอาสายนิวตรอนลงดินหลายๆจุดแบบนี้จะแก้ปัญหาแรงดันตกได้ไหมครับอาจารย์ ขอบคุณนะครับอาจารย์

    • @ChaichanPothisarn
      @ChaichanPothisarn 2 года назад

      แก้ด้วยวิธีที่ถามมาไม่ได้ครับ ต้องดูขนาดสาย กระแสโหลด ประกอบครับ

    • @pps.sks1985
      @pps.sks1985 2 года назад

      @@ChaichanPothisarn ขอบคุณครับอาจารย์

  • @tomchungsakoon8614
    @tomchungsakoon8614 3 года назад

    ความรู้มากแต่ฟังเข้าใจยากไม่ดีคับเสียเวลา

  • @sompop6599
    @sompop6599 3 года назад

    ได้ความรู้มากครับ ทำต่อไปนะครับจะติดตามทุกผลงานครับ

  • @user-wf3uh5zl7i
    @user-wf3uh5zl7i 3 года назад

    มีตารางของสาย THW A ไหมครับ

  • @pps.sks1985
    @pps.sks1985 3 года назад

    อาจารย์ครับ ตกลงการกำหนดแรงดัน drop ที่บอกว่าไม่เกิน 5% นั้น เริ่มต้นตั้งแต่มิเตอร์ไฟฟ้า ไปจนถึงจุดจ่ายกระแสไฟฟ้าให้โหลดตัวที่ไกลที่สุด ไม่เกิน 5% ใช่ไหมครับ ผมเข้าใจถูกใช่ไหมครับ แต่มีวิศวกรท่านหนึ่งบอกว่า 5% ก็คือจากตู้ควบคุมไฟฟ้าหรือตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตไปจนถึงโหลด ไม่เกิน 5% มันต้องเริ่มจากมิเตอร์ไฟฟ้าไปจนถึงโหลดตัวที่ไกลที่สุดไม่ใช่หรอครับ ตกลงว่าวิศวกรท่านนั้นสับสนหรือว่าผมเข้าใจผิดครับ ขอรบกวนอาจารย์ช่วยให้คำตอบด้วยครับว่าผมเข้าใจถูกต้องหรือเปล่า ขอบคุณครับอาจารย์

    • @ChaichanPothisarn
      @ChaichanPothisarn 3 года назад

      ในที่นี้ตอนคำนวณแรงดันตก จะพิจารณาโหลดที่ติดตั้งถาวร ที่อยู่มีแรงดันตกมากที่สุด ซึ่งหมายถึง ถ้ามีหม้อแปลง ก็เริ่มต้นที่ตู้ MDB ถ้าเป็นแรงต่ำก็เริ่มต้นที่เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า ไปจนถึงโหลดที่อยู้ไกลที่สุด ถ้าเป็นเต้ารับไฟฟ้า ก็คิดกระแสที่พิกัดของวงจรย่อยนั้น

    • @pps.sks1985
      @pps.sks1985 3 года назад

      @@ChaichanPothisarn ขอบคุณครับอาจารย์